Bu video, orijinal YouTube API’si ile ilgili videonun farklı sitelerde paylaşımına izin verildiği için, burada yayınlanmaktadır. Videonun buradan izlenmesi, YouTube'daki izlenme adetlerinde sayılmaktadır. Varsa, videodaki videoiçi reklamlardan video sahipleri gelir elde edebilirler.
Videonun sahibi iseniz ve videonuzun burada yayınlanmasını istemiyorsanız, YouTube Video Panelinden ilgili videonun API paylaşımını kapatmanız halinde, videonuz yayından otomatik olarak kalkacaktır.
This video is published here with official YouTube API as it is allowed to be published. All views and in-video ad clicks are being counted for video owner. If you want this video to be removed from here, you can uncheck API allowance from YouTube video settings and it will be removed automatically.

แนะนำ ! กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดีอย่างไร ทำไมถึงต้องทำ ? | เงินทองของจริง

30
Skip (8)
42 İzlenme
Published
วันนี้จะมาคุยเพื่อเป็นแนวทางให้กับน้อง ๆ ที่เพิ่งจบใหม่ First Jobber เพิ่งทำงานที่แรก แล้วปรากฏว่าทางบริษัทมีสวัสดิการดี ๆ อย่าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก และความหมายของคำคำนี้คืออะไร แล้วมันดีอย่างไร ?

พูดง่าย ๆ เข้าใจตรง ๆ ! คำว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund เปรียบเสมือนตัวช่วยสะสมเงินเก็บ ไว้ให้เรามีกินมีใช้ในยามเกษียณ ด้วยหลักการแล้ว จะใช้วิธีการหักเงินเดือน 2-15 โดยแต่ละบริษัทจะมีเงื่อนไขกำหนดตัวเลขขั้นต่ำเอาไว้ โดยเราสามารถเลือกปรับตัวเลขได้ตามลำดับขั้น ภายในกรอบตั้งแต่ 2-15 และในขณะเดียวกัน ทางบริษัทก็จะทำหน้าที่สมทบเงินเข้าไปให้เราในกองทุนฯ ทำให้มีเงินเก็บคู่ขนานกันไปทั้ง 2 ทาง และข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากจะเป็นเงินเก็บแล้ว ยังได้สิทธิในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย

อีกสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ ? กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีคำว่า กองทุน แสดงว่าจะต้องนำเงินไปลงทุน โดยเงินทั้ง 2 ส่วน ทั้งจากพนักงาน และจากนายจ้าง จะถูกนำไปลงทุนผ่าน ผู้จัดการกองทุน ตามแผนที่ผู้ลงทุนเลือก สรุปแล้วทำให้เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1. เงินของเรา หรือ เงินสะสม

2. เงินของนายจ้าง หรือ เงินสมทบ

3. ผลประโยชน์ของเงินสะสม ซึ่งได้จากเงินของเราที่นำไปลงทุน

4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ ซึ่งได้จากเงินของนายจ้างที่นำไปลงทุน

ทั้งนี้ เงินทั้ง 4 ส่วนจะถูกสะสมไปเรื่อย ๆ และหากเรายิ่งทำงานนาน ยกตัวอย่าง นับตั้งแต่อายุ 20-55 ปี โดยที่เราทำงานและมีเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ถ้าหากถอนออกมาทีเดียว ก็จะทำให้เราได้เงินก้อนโตออกมาใช้ แถมได้กำไรเพิ่มขึ้นเป็นกอบเป็นกำด้วย

เมื่อเข้าใจหลักการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และทราบข้อดีกันไปแล้ว คราวนี้มาไขข้อสงสัยไปกับคำถามยอดฮิตอย่าง หากลาออกหรือย้ายที่ทำงาน เราจะมีวิธีจัดการกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไร ? คำตอบก็คือ ทุกปัญหามีทางออก เพื่อน ๆ ไม่ต้องกังวลไป เพราะการลาออกหรือย้ายที่ทำงานเป็นเรื่องปกติ และแน่นอนว่ามีวิธีจัดการหลายทางเลือกมารองรับอยู่แล้ว

ทางเลือกที่ 1 หากเราลาออก และย้ายที่ทำงานไปแล้ว แต่ยังไม่ได้สวัสดิการในส่วนนี้ เนื่องจากเรายังไม่ผ่านโปรฯ หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เป็นการเสี่ยงจนเกินไป เราสามารถแก้ไขได้โดยการ พักกองทุนฯ ไว้ที่เดิมก่อน โดยมีค่าธรรมเนียม 500 บาท ต่อระยะเวลาฝาก 1 ปี

ทางเลือกที่ 2 หากดูแล้วมั่นใจว่าบริษัทใหม่ที่เราย้ายเข้าไปเป็น 1 ใน 20,000 กว่าบริษัท จาก 800,000 กว่าบริษัทในไทยที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยเราต้องการย้ายกองทุนฯ ก็สามารถทำได้ด้วย 2 วิธีการ คือ

1. ให้กองทุนฯ เดิมออกเช็ค แล้วนำไปยื่นให้กับ HR ของบริษัทใหม่ เพื่อดำเนินการนำกองทุนฯ ของเราไปบริหารจัดการต่อ

2. ให้ทางกองทุนฯ ของเราออกเช็ค แล้วส่งไปที่กองทุนฯ ที่บริหารกองทุนฯ ของบริษัทใหม่ได้เลย

ทางเลือกที่ 3 หากบริษัทใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราจะใช้วิธีย้ายกองทุนฯ ก็ทำไม่ได้ หรือจะฝากนาน ๆ แบบทางเลือกที่ 1 ก็ไม่ดี และเพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีเอาไว้ สามารถทำได้โดยการโยกเงินทั้งกองไปซื้อ กองทุน RMF สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ RMF for PVD ได้ โดยเราไม่จำเป็นต้องซื้อตลอดไป อาจเป็นการทำในลักษณะชั่วคราว และทิ้งยาวถึงวันเกษียณ

ทางเลือกที่ 4 หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสด หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ถอนออกหมด เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนที่ผูกกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยเงินที่เราสะสมตลอดทั้งปีจะเป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษี หรือไม่นำมาคิดคำนวณภาษี ดังนั้น หากต้องการถอนออกก่อนอายุ 55 ปี จึงต้องมีเงื่อนไขเล็กน้อยตามเกณฑ์ ดังนี้

1. หากอายุสมาชิกไม่ถึง 5 ปี เงิน 3 ส่วนที่เราได้รับต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับรายได้อื่น ๆ เช่น หากเดิมฐานภาษี 40 เงินที่ได้รับก็ต้องเสียภาษีที่อัตรา 40 เป็นต้น

2. หากอายุสมาชิก 5 ปี ขึ้นไป เงิน 3 ส่วนที่เคยได้รับต้องเลือกแยกคำนวณภาาษีจากรายได้อื่น ๆ ด้วยใบแนบ ภ.ง.ด. 90/91

สรุปง่าย ๆ สำหรับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็คือ เป็นกองทุนเพื่อการเก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ โดยหักจากเงินเดือนของเรา และบริษัทช่วยสมทบให้ควบคู่กันไป เพื่อนำไปลงทุน และยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เหมือนกับว่าเรามีคนคอยช่วยเก็บเงิน และยังได้กำไรตอบแทนอีกด้วย ค่อย ๆ มีเงินออมเพียงเล็กน้อย แต่เก็บไปเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เมื่อวันหนึ่งที่เราเกษียณแล้ว อาจมีเงินก้อนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ถึงหลักล้าน ไว้ใช้หาความสุขหลังวัยทำงานได้ต่อ ๆ ไป

พบกับ โคชหนุ่ม และ กาย สวิตต์ ได้ใน สนามข่าว 7 สี ช่วง เงินทองของจริง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
และรับชมออนไลน์ ผ่าน YouTube: TERO Digital ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.35 น.

Facebook
TERO Digital: https://facebook.com/TERODigital
TERO News: https://facebook.com/TERONews
CH7HD: https://facebook.com/Ch7HD
CH7HD News: https://facebook.com/Ch7HDNews

YouTube
TERO Digital: https://youtube.com/c/TERODIGITAL
CH7HD: https://www.youtube.com/c/ch7hd
CH7HD News: https://youtube.com/c/CH7HDNews

TikTok
TERO Digital: https://tiktok.com/terodigital
CH7HD: https://www.tiktok.com/ch7hdofficial
CH7HD News: https://www.tiktok.com/ch7hd_news

Instagram
TERO Digital: https://www.instagram.com/terodigital
CH7HD: https://www.instagram.com/ch7hd
CH7HD News: https://www.instagram.com/ch7hd_news

#เงินทองของจริง #TERODigital #CH7HDNews
Kategori
Finance and Crypto
Henüz yorum yapılmamış. İlk yorumu siz yapın.